4 ดอกเบี้ยที่เริ่มต้นจาก “หนี้สิน” ใกล้ตัว มีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร?

4 ดอกเบี้ยที่เริ่มต้นจาก “หนี้สิน” ใกล้ตัว มีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร?

 

การเริ่มต้นซื้อบ้าน คอนโด หรือรถยนต์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ล้วนเป็นการซื้อที่ต้อง “ผ่อนชำระ” กันแทบทุกคน และพอมีเรื่องการผ่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งที่ตามมาพร้อมกันเลยก็คือ “ดอกเบี้ย”  เรื่องราวต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนมองเห็นภาพกับตัวเลขเปรียบเทียบระหว่าง ดอกเบี้ยบ้าน คอนโด vs ดอกเบี้ยรถยนต์ vs ดอกเบี้ยบัตรเครดิต vs ดอกเบี้ยหนี้สินส่วนบุคคล ให้ดูกันอย่างชัดเจน 

 

1.การคำนวณดอกเบี้ย “บ้าน คอนโด”  

อันดับแรกลองมาเริ่มกันที่ดอกเบี้ยบ้าน คอนโดกันก่อน ซึ่งปัจจุบันมักจะมีประเภทดอกเบี้ยหลัก ๆ อยู่ 2 ประเภท ดังนี้

  • ดอกเบี้ยคงที่ – แบบระยะสั้น(1-5 ปี) , คงที่ตลอดระยะเวลากู้ , คงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันใดในช่วงแรก ต่อจากนั้นเป็นอัตราลอยตัว
  • ดอกเบี้ยลอยตัว – มีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน 

ส่วนการคำนวณอย่างง่ายเราจะขอเลือกเป็น “ดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้” บวกกับผ่อนเป็นรายปี เพื่อความเข้าใจง่ายกันก่อน 

 

ตัวอย่าง. ดอกเบี้ย 5% ต่อปี มูลค่า 2,000,000 บาท วางดาวน์ไป 500,000 บาท 

  • ดอกเบี้ยปีแรก = 1,500,000 x 5% = 75,000 บาท/ปี 
  • ธนาคารคำนวณให้จ่ายต่อปี = 340,800
  • ผ่อนปีแรก = 1,500,000 – 340,800 = 1,159,200 บาท
  • คิดดอกเบี้ยปีที่ 2 = 1,159,200 x 5% = 57,960 บาท/ปี 

สรุปได้ว่า ดอกเบี้ยการซื้อบ้าน คอนโด จะคิดจากจำนวนเงินที่เราติดค้างให้แต่ละงวด เรียกง่าย ๆ ว่า “ลดต้นลดดอก”  นั่นเอง

 

2.การคำนวณดอกเบี้ย “รถยนต์” 

ถัดมาลองมาดูที่รถยนต์กันบ้าง ซึ่งตรงนี้เราจะขอเข้าประเด็นเรื่องการคำนวณดอกเบี้ยกันเลย เพราะส่วนใหญ่แล้วโปรโมชั่นเรื่องดอกเบี้ยรถมือ 1 สมัยนี้ มักจะเป็นดอกเบี้ยคงที่อยู่แล้ว 

 

ตัวอย่าง. ดอกเบี้ย 5% ต่อปี มูลค่า 2,000,000 บาท วางดาวน์ไป 500,000 บาท

  • ดอกเบี้ยปีแรก = 1,500,000 x 5% = 75,000 บาท/ปี
  • ผ่อนทั้งหมด 5 ปี = 75,000 x 5 = 375,000 บาท
  • หนี้ทั้งหมดที่ต้องผ่อน = 1,500,000 + 375,000 = 1,875,000 บาท
  • ผ่อน 5 งวด = 1,875,000 / 5 = 375,000 บาท

สรุปได้ว่า ดอกเบี้ยในการซื้อรถยนต์ จะคิดเริ่มต้นจากเงินก้อนแรกเสมอ ซึ่งก็คือ การคิดดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่อน 

 

3.การคำนวณดอกเบี้ย “บัตรเครดิต

อันดับที่ 3 นั้นเราเชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ถึงดอกเบี้ยที่มีการเก็บรายละเอียดทุกเม็ดแบบไม่มีพลาด ยิ่งใครชำระที่ขั้นต่ำบ่อย ๆ หรือขาดการชำระเต็มจำนวนไปนาน ต้องจ่ายดอกเบี้ยกันแบบเน้น ๆ เลยก็ว่าได้

 

ตัวอย่าง. รูดบัตรวันที่ 1 มี.ค. 10,000 บาท ธนาคารสรุปยอดทุกวันที่ 25 กำหนดชำระทุกวันที่ 10 ของเดือนถัดไป มีดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่อปี 20% ต่อปี พอถึงวันที่ 10 เม.ย. ชำระไปเพียง 10% หรือ 1,000 บาท  ดอกเบี้ยจึงถูกคิดออกมาได้ดังนั้น

  • ยอดรวม 10,000 บาท x 20% x 25 วัน / 365 วัน = 136.99 บาท (สำหรับช่วง 1 มี.ค. – 25 มี.ค.)
  • ยอดคงค้าง 9,000 บาท x 20% x 16 วัน / 365 วัน = 78.90 บาท (สำหรับช่วง 10 เม.ย. – 25 เม.ย.) 
  • รวมยอดเรียกเก็บครั้งถัดไปรวมดอกเบี้ย = 9,215.89 บาท (สำหรับวันที่ 10 พ.ค.)
  • ซึ่งพอถึงวันที่ 25 พ.ค. ยังมีดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายอีก 9,000 x 20% x 14 วัน / 365 = 69.04 บาท (สำหรับช่วง 26 เม.ย. – 10 พ.ค.)
  • เบ็ดเสร็จรวมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจึงกลายเป็น 284.93 บาท

ถ้าหากเรายังไม่สามารถปิดยอดได้ตามกำหนด จะต้องถูกคำนวณค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในทุกช่วงแบบนี้ จนกระทั่งตัวเราต้องเสียดอกเบี้ยของดอกเบี้ยวนไปเรื่อย ๆ กลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน 

 

4.ดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคล

สำหรับอันดับสุดท้ายถ้าใครยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับมันสักเท่าไหร่ เราจะบอกถึงความหมายก่อนเข้าวิธีการคำนวณกัน สินเชื่อส่วนบุคคล คือ วงเงินสินเชื่อเอนกประสงค์ที่ผู้กู้สามารถนำไปใช้ได้ตามต้องการ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีการพิจารณายอดเงินสินเชื่อแตกต่างกันออกไป ตามความมั่นคงทางการเงิน หรือประวัติทางการเงินที่ดีนั่นเอง โดยดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคล แยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เงินต้นคงที่และ ลดต้นลดดอก ทั้งคู่มีการคำนวณดังนี้

 

ตัวอย่าง. (เงินต้นคงที่) เงินกู้ 100,000 บาท ดอกเบี้ย 10% ระยะเวลา 2 ปี 

  • คิดดอกเบี้ยออกมาเป็น 100,000 x 10% x 2 ปี = 20,000 บาท
  • ค่างวดจึงเท่ากับ 100,000(เงินกู้) + 20,000(ดอกเบี้ย 2 ปี) / 24(จำนวนเดือน) = 5,000 บาท / เดือน

 

ตัวอย่าง. (แบบลดต้นลดดอก) เงินกู้ 100,000 บาท ดอกเบี้ยต่อ 10% ตลอดสัญญา

  • คิดดอกเบี้ยเดือนแรก วันที่ 1 = (10 (อัตราดอกเบี้ยต่อปี) / 365 (จำนวนวันต่อปี)) x 100,000 (เงินกู้) ) / 100 = 27.40 บาท
  • คิดดอกเบี้ยเดือนแรก วันที่ 2 = ((10 / 365) x (100,000 + 27.40)) / 100 
  • คำนวณต่อเนื่องแบบนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงกำหนดจ่ายค่างวด
  • สรุปดอกเบี้ยเดือนแรก วันที่ 31 จะเท่ากับ 852.81 บาท
  • หากชำระค่างวดที่ 5,000 บาท จะถูกหักดอกเบี้ยออกตามจำนวนด้านบน 
  • เหลือเป็นยอดจ่ายสำหรับเงินต้นที่ 5,000 – 852.81 = 4,147.19 บาท
  • คิดดอกเบี้ยเดือนที่ 2 วันที่ 1 (10 / 365) x (95,852.91) / 100 = 26.26 คำนวณไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงกำหนดจ่ายค่างวดเหมือนเดิม

สรุปได้ว่าการจะใช้หรือคิดดอกเบี้ยในแต่ละรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้กู้ และประเภทของสินเชื่อที่เราต้องการยื่นกู้ด้วยเช่นกัน อยากทราบรายละเอียดตัวเลขที่ชัดเจน ต้องติดต่อสอบถามธนาคารด้วยตัวเองอีกทีหนึ่ง 

 

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของเหล่า “ดอกเบี้ย” มากมายที่อาจอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ใครที่กำลังอยู่ในช่วงมนุษย์เงินเดือน ควรเริ่มทำความเข้าใจอย่างละเอียดมากขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อที่จะได้เข้าใจกลไกลด้านการเงิน และสามารถวางแผนความมั่นคงให้ดีอยู่ตลอดเวลา

Like what you see? Share with a friend.

Related Blog

รัฐฯ ซื้อหนี้ประชาชน จุดเปลี่ยนอสังหาฯ? ดีกว่าเดิม หรือพังกว่าเก่า

เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ ในงาน Obelisk Open House 2025 พบกับโซลูชั่นใหม่ พร้อมตั้งเป้าปี 2025 ที่ 250 ลบ.

เปิดมุมมองใหม่กับ Obelisk Development ในงาน Obelisk Open House 2025

4 ดอกเบี้ยที่เริ่มต้นจาก “หนี้สิน” ใกล้ตัว มีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร?

รู้หรือไม่? การติดบูโร ไม่ได้มีแค่แบบเดียว!

ซื้ออสังหาเพื่อลงทุน ต้องดูอะไรบ้าง?